วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลประเภทมีสาย
    สื่อกลางหรือตัวกลางเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์นี้ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางจากผู้ส่งไปสู่ผู้รับ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูลที่สามารถนำผ่านไปได้ใน ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับแบนด์วิดท์(Bandwidth) ของสื่อกลางแต่ละประเภท ลักษณะของสื่อกลางต่างๆ มีดังต่อไปนี้
       1. สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair Cable)สายคู่บิดเกลียวประกอบด้วยสายทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มพันกันเป็นเกลียว สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อนในขณะที่มีการส่งสัญญาณ สายคู่บิดเกลียว 1 คู่จะแทนการสื่อสารได้ 1 ช่องทางสื่อสาร(Channel) สำหรับการใช้งานจริงเช่นสายโทรศัพท์จะเป็นสายรวมที่ประกอบด้วยสายคู่บิดเกลียวอยู่ภายในเป็นร้อยๆ คู่
รูปที่ 1 สายคู่บิดเกลียว
          สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ได้ทั้งการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อกและแบบดิจิตอล และเนื่องจากสายคู่บิดเกลียวจะมีการสูญเสียสัญญาณขณะส่งสัญญาณ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีเครื่องขยายสัญญาณ (Amplifier) สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อกในระยะทางไกล ๆหรือทุก 5 – 6 กิโลเมตร สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลจะต้องมีเครื่องทบทวนสัญญาณ(Repeater) ทุก ๆ 2 – 3 กิโลเมตร สายประเภทนี้มีด้วยกัน 2 ชนิดคือ
            ก) สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยลวดถัดชั้นนอกที่หนาอีกชั้นดังรูปที่ 2 เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
            ข) สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวมีฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้นดังรูปที่ 3 ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก แต่ก็มีราคาต่ำ จึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย ตัวอย่างสายคู่บิดเกลียวชนิดนี้ เช่น สายโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ตามบ้าน
รูปที่ 2 สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน
รูปที่ 3 สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน
ตารางที่ 1 แสดงคุณลักษณะของสาย UTP ในแต่ละชนิด
ชนิด สาย UTP
การนําไปใช้
ลักษณะ สัญญาณ
แบนด์วิดท์
(Bandwidth)
อัตรา การส่งข้อมูล (Data Rate)
ระยะทาง สูงสุด
ข้อดี
ข้อเสีย
CAT 1
สายโทรศัพท์
Analog
Very low
< 100 Kbps
3 - 4 ไมล์
ราคาถูกมากและง่าย
ความปลอดภัย
/Digital
ต่อการติดตั้ง
และสัญญาณ
รบกวน
CAT 2
T-1, ISDN
Digital
< 2 MHz
2 Mbps
3 - 4 ไมล์
เช่นเดียวกับ CAT 1
ความปลอดภัย และสัญญาณ รบกวน
CAT 3
LANs
Digital
16 MHz
10 Mbps
100 เมตร
เช่นเดียวกับ CAT 1
ความปลอดภัย
แต่มีสัญญาณรบกวน
และสัญญาณ
น้อยกว่า
รบกวน
CAT 4
LANs
Digital
20 MHz
20 Mbps
100 เมตร
เช่นเดียวกับ CAT 1
ความปลอดภัย
แต่มีสัญญาณรบกวน
และสัญญาณ
น้อยกว่า
รบกวน
CAT 5
LANs
Digital
100 MHz
100 Mbps
100 เมตร
เช่นเดียวกับ CAT 1
ความปลอดภัย
แต่มีสัญญาณรบกวน
และสัญญาณ
น้อยกว่า
รบกวน
CAT 5e
LANs
Digital
100 MHz
100 Mbps
100 เมตร
เป็นสายที่มี
ความปลอดภัย
1000 Mbps
คุณภาพสูงกว่า CAT
และสัญญาณ
(4 pair)
5
รบกวน
CAT 6
LANs
Digital
200 MHz
1000 Mbps
100 เมตร
อยู่ในช่วงของการร่าง
ความปลอดภัย
มาตรฐาน
และสัญญาณ
รบกวน
CAT 7
LANs
Digital
600 MHz
10 Gbps
100 เมตร
อยู่ในช่วงของการร่าง
ความปลอดภัย
มาตรฐาน
และสัญญาณ
รบกวน
                     หัวเชื่อมต่อ (Modular Plugs) สายคู่บิดเกลียวจะใช้หัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45 ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-11ที่เป็นหัวที่ใช้กับสายโทรศัพท์ทั่ว ๆ ไป ข้อแตกต่างระหว่างหัวเชื่อมต่อสองประเภทนี้คือ หัว RJ-45 จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยและไม่สามารถเสียบเข้ากับปลั๊กโทรศัพท์ได้ และหัว RJ-45 จะเชื่อมสายคู่บิดเกลียว 4 คู่ ในขณะที่หัว RJ-11 ใช้ได้กับสายเพียง 2 คู่เท่านั้น ดังรูปที่12 จะแสดงสาย UTP และหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45
 รูปที่ 4 หัวเชื่อมต่อ RJ-45 สำหรับสายรุ่น CAT 5e
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสายคู่บิดเกลียว

ข้อดี
ข้อเสยี
1. ราคาถูก
2. ง่ายต่อการนาไปใช้งาน
1. ความเร็วในการส่งข้อมูลต่ําเมื่อเทยบกับสื่อประเภทอื่น
2. ใช้ได้ในระยะทางสั้นๆ
3. ในกรณเป็นสายแบบไม่มีชีลด์ป้องกันสัญญาณรบกวน จะไวต่อสัญญาณ สัญญาณรบกวน (Noise) ภายนอก
                 การเข้าหัว RJ-45 สำหรับสายคู่บิดเกลียว
           การเข้าหัวแบบสายตรง หรือ Straight-through นั้น เป็นการเข้าหัวสำหรับสายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างชนิดกัน เช่น การใช้สายต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Switch หรือ HUB ให้
เชื่อมต่อแบบ EIA/TIA 568B ทั้งสองข้างของการเข้าสาย
           การเข้าแบบไขว้ หรือ Crossover เป็นการเข้าหัวสำหรับสายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน เช่น HUB to HUB , Switch To Switch หรือ คอมพิวเตอร์กับ คอมพิวเตอร์ เราสามารถที่จะใช้ระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ Notebook ก็ได้ โดยให้เข้าสายโดยข้างหนึ่งเป็นแบบ EIA/TIA 568B และอีกข้างเป็น EIA/TIA 568A
รูปที่ 5 หัวเชื่อมต่อ RJ-45
ตารางที่ 3 การเข้าหัว RJ-45 แบบ EIA/TIA 568A และแบบ EIA/TIA 568B
RJ-45
EIA/TIA 568A
EIA/TIA 568B
CABLE
CABLE
Pin
Symbol
Pair No.
Color
Pair No.
Color
1
TD+
Pair 3
ขาว (คข่  องเขยว)
Pair 2
ขาว (คข่  องส้ม)
2
TD-
Pair 3
เขียว
Pair 2
ส้ม
3
RX+
Pair 2
ขาว (คข่  องส้ม)
Pair 3
ขาว (คข่  องเขยว)
4
Not Assigned
Pair 1
ฟ้า
Pair 1
ฟ้า
5
Not Assigned
Pair 1
ขาว (คข่  องฟ้า)
Pair 1
ขาว (คข่  องฟ้า)
6
RX-
Pair 2
ส้ม
Pair 3
เขียว
7
Not Assigned
Pair 4
ขาว (คข่  องน้ําตาล)
Pair 4
ขาว (คข่  องน้ําตาล)
8
Not Assigned
Pair 4
น้ําตาล
Pair 4
น้ําตาล


รูปที่ 6 การเข้าหัว RJ-45
       2. สายเคเบิลร่วมแกนหรือสายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable)สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) ส่วนใหญ่จะเรียกสั้น ๆ ว่าสายโคแอ็ก (Coax) จะมีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็ก มีความหมายว่า "มีแกนร่วมกัน" นั่นคือตัวนำทั้งสองตัวมีแกนร่วมกันนั่นเอง ในอดีตนิยมใช้สำหรับระบบเครือข่ายส่วนท้องถิ่น (LAN) แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้มากนัก ส่วนใหญ่จะใช้เป็นสายสัญญาณจากเสาอากาศโทรทัศน์
ส่วนประกอบของสายโคแอ็กเชียล
1. ส่วนฉนวนชั้นนอกสุด เป็นส่วนที่ใช้หุ้มสายเพื่อป้องกันการกระแทก ฉีกขาดของสายภายใน
2. ส่วนชีลด์ เป็นโลหะ อาจเป็นแผ่นหรือใช้การถักให้เป็นแผง หุ้มอยู่ชั้นนอก ทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณรบกวน และป้องกันการแพร่กระจายคลื่นของสัญญาณออกมาภายนอก
3. ส่วนไดอิเล็กทริก เป็นตัวขั้นกลางระหว่างส่วนของ อินเนอร์ และ ชีลด์ ฉนวนนี้มีความสัมคัญในส่วนของการลดทอนสัญญาณด้วย มักเป็น โพลิเอธิลีน(PE) หรือโฟม
4. ส่วนนำสัญญาณหรืออินเนอร์ เป็นตัวนำอยู่ภายในสุด ทำหน้าที่นำสัญญาณจากอุปกรณ์ต้นทางไปยังปลายทาง
รูปที่ 7 สายโคแอ็กเชียล
     หัวเชื่อมต่อ
          สายโคแอ็กเชียลทั้ง 2 ประเภทจะใช้หัวเชื่อมต่อชนิดเดียวกันที่เรียกว่าหัว BNC ซึ่งมีหลายแบบดังต่อไปนี้
1. หัวเชื่อมต่อแบบ BNC (BNC Connector) เป็นหัวที่เชื่อมเข้ากับปลายสาย
2. หัวเชื่อมสายรูปตัว T (T Connector) ใช้เชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณ
3. ตัวสิ้นสุดสัญญาณ (Terminator) ใช้ในการสิ้นสุดสัญญาณที่ปลายสายเพื่อไม่ให้สัญญาณที่ส่งมาถูกสะท้อนกลับ ถ้าไม่อย่างนั้นสัญญาณจะสะท้อนกลับทำให้รบกวนสัญญาณที่ใช้ส่งข้อมูลอื่นๆ ทำให้การส่งสัญญาณหรือข้อมูลล้มเหลวได้   


รูปที่ 9 ตัวสิ้นสุดสัญญาณ(Terminator)
          สายโคแอ็กเชียลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สายโคแอ็กเชียลแบบบาง (Thin Coaxial cable)
- ขนาด  0.64 cm.
- ขนาดเล็ก มีความยืดหยุ่นสูง
- นำสัญญาณได้ไกลประมาณ 185 m.
- ใช้เชื่อมต่อกับ Computer โดยใช้มาตรฐาน Ethernet
รูปที่ 10 สายโคแอ็กเชียลแบบบาง
2. สายโคแอ็กเชียลแบบหนา (Thick Coaxial cable)
- ขนาด  1.27 cm.
- ขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่า
- นำสัญญาณได้ไกล 500 m.
- นิยมใช้เป็นสายส่งสัญญาณหลัก (Backbone) ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมและถูกแทนที่ด้วยเส้นใยนำแสง (Fiber optic cable)
รูปที่ 11 สายโคแอ็กเชียลแบบหนา
สายโคแอ็กเชียลสามารถถ่ายทอดสัญญาณได้ 2 แบบ คือ
1. บรอดแบนด์ (Broadband Transmission)
-  แบ่งสายสัญญาณออกเป็นช่องสัญญาณขนาด เล็กจํานวนมาก ใช้ในการส่งสัญญาณ โดยจะมี ช่องสญญาณกนชน (Guard Band) ป้องกัน การรบกวนกัน
-  แต่ละช่องสัญญาณสามารถรบั  -ส่งข้อมูลได้ พร้อมกัน
-  สัญญาณ Analog
-  ใช้ในการส่งสญญาณโทรทัศน์ได้หลายร้อยช่อง
-  ตัวอย่าง Cable TV
2. เบสแบนด์ (Baseband Transmission
-               มีเพียงช่องสัญญาณเดียว
-               มีความกว้างของช่องสัญญาณมาก
-               การส่งสัญญาณเป็นแบบ Half- duplex
-               ใช้ในระบบ LAN ส่งสญญาณแบบ
Digital
-               อุปกรณ์มีความซับซ้อนน้อยกว่าแบบ แรก
ตารางที่ 4 เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสายโคแอ็กเชียล
ข้อดี
ข้อเสีย
1.             เชื่อมต่อได้ในระยะทางไกล 500 เมตร
(สําหรับ Thick coaxial cable) 2.       ลดสัญญาณรบกวนจากภายนอกได้ดี
3.             ป้องกันการสะท้อนกลับ (Echo) ได้ดี
1. ราคาแพง
2. สายมีขนาดใหญ่
3. ติดตั้ง Connector ยาก
                3. เส้นใยนำแสง (Fiber Optic Cable)เส้นใยนำแสง (Fiber Optic Cable) มีแกนกลางของสายซึ่งประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือพลาสติกขนาดเล็กหลายๆ เส้นอยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กเท่าเส้นผมและภายในกลวง และเส้นใยเหล่านั้นได้รับการห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนการส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่ง แต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้จะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้นและอาศัยหลักการหักเหของแสงโดยใช้ใยแก้วชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง การให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้วสามารถส่ง
ข้อมูลด้วยอักตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และเนื่องจากความสามารถในการส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร เสียง ภาพ หรือวีดีทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งมีความปลอดภัยในการส่งสูง
รูปที่ 12 เส้นใยนำแสง
ตารางที่ 6 เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสายเส้นใยนำแสง

ข้อดี
ข้อเสีย
1.   ส่งข้อมูลปริมาณมากด้วยความเร็วสูง
1.   เส้นใยแก้วมความเปราะบาง แตกหัก
(Bandwidth มาก)
ง่าย
2.   ส่งได้ระยะทางไกล สญญาณอ่อนกําลังยาก
2.   การเดินสายจําเป็นต้องระมัดระวังอย่า
3.   ไม่มีการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มี
ให้มีความโค้งงอมาก
ข้อผิดพลาดน้อย
3.   ค่าใช้จ่ายสูง เมื่อเทียบกับสายทั่วไป
4.   มีความปลอดภัยสูง
4.   การติดตั้งจําเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญ
5.   ขนาดเล็ก น้ําหนักเบา
เฉพาะ
6.   มีความทนทาน สามารถติดตั้งในที่ที่มี
อุณหภูมิสูงหรือต่ํามากได้
7.   ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าสายทองแดง ถ้าใช้งาน
ในระยะทางไกล



   สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลประเภทไร้สาย
               สื่อกลางหรือตัวกลางเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์นี้ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางจากผู้ส่งไปสู่ผู้รับ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูลที่สามารถนำผ่านไปได้ใน ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับแบนด์วิดท์(Bandwidth) ของสื่อกลางแต่ละประเภท ลักษณะของสื่อกลางต่างๆ มีดังต่อไปนี้
          สื่อกลางที่นำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูลอีกประเภทหนึ่งซึ่งไม่มีลักษณะทางกายภาพปรากฏ
ให้เห็น แต่อาศัยการแพร่กระจายคลื่นในรูปแบบต่าง ๆ ในการส่งสัญญาณข้อมูลออกไปเรียกว่า
สื่อกลางประเภทกระจายคลื่น (Radiated Media) หรือสื่อกลางประเภทไร้สาย (Wireless Media)
ซึ่งสามารถส่งสัญญาณข้อมูลผ่านอากาศ น้ำ หรือ แม้แต่ในสูญญากาศได้
          รูปแบบของสื่อกลางประเภทไร้สายได้แก่ คลื่นวิทยุ สัญญาณไมโครเวฟทั้งแบบภาคพื้นดิน
และแบบดาวเทียม วิทยุเซลลูลาร์ วิทยุสเปรดสเปกตรัม และสัญญาณอินฟราเรด สัญญาณแต่ละ
ชนิดเป็นสัญญาณคลื่นที่มีความถี่แตกต่างกัน ซึ่งจะต้องมีการกำหนดความถี่ย่านต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิด
ปัญหาการใช้สัญญาณความถี่เดียวกันหรือทับซ้อนกัน จึงต้องมีองค์กรกลาง เช่น FCC หรือ องค์กร
บริหารความถี่คลื่นวิทยุ ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมและอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ทั้งหมดที่ต้องการแพร่
ออกอากาศ
รูปที่ 13 ย่านความถี่ของสัญญาณต่าง ๆ
       1.คลื่นวิทยุ (Broadcast Radio)คลื่นวิทยุที่มีการแพร่กระจายออกอากาศโดยทั่วไปทั้งในระบบ AM และ FM มีความถี่อยู่ในช่วง 30-300 MHz คลื่นวิทยุประเภทอื่นจะใช้ความถี่ในย่านอื่น เช่น คลื่นวิทยุสมัครเล่น คลื่นโทรศัพท์ วิทยุคลื่นสั้น เป็นต้น การแพร่กระจายคลื่น หรือที่เรียกว่าการส่งออกอากาศ จะเกิดขึ้นในทุกทิศทาง (Omnidirectional) ทำให้เสาอากาศที่ใช้รับสัญญาณไม่จำเป็นต้องตั้งทิศทางให้ชี้ตรงมายังเสาส่งสัญญาณ เช่น เสารับสัญญาณของวิทยุติดรถยนต์ ในขณะที่รถยนต์เคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ
วิทยุในรถจะสามารถรับสัญญาณวิทยุได้ตลอดเวลา ตราบเท่าที่รถยังคงวิ่งอยู่ภายในพื้นที่รัศมีการส่ง
สัญญาณ อย่างไรก็ตามในกรณีของเสาอากาศโทรทัศน์นั้นมีความจำเป็นต้องติดตั้งเสาอากาศให้ชี้มา
ทางสถานีส่งเพื่อให้สามารถรับภาพได้อย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นสัญญาณช่องความถี่กว้าง ซึ่งมีความ
ซับซ้อนมากกว่าสัญญาณวิทยุทั่วไป แม้ว่ารูปแบบของการแพร่คลื่นสัญญาณทั่วไปจะเป็นแบบวงกลม
แต่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้าช่วยจะสามารถสร้างรูปทรงแบบวงรีขึ้นมาได้ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่
ทับซ้อนของสัญญาณจากสถานีข้างเคียงให้น้อยลง
        2.ไมโครเวฟ (Microwave)ไมโครเวฟที่ใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณมีความถี่สูงมาก (3-30 GHz) ซึ่งช่วยให้สามารถส่งข้อมูลออกไปด้วยอัตราความเร็วที่สูงมากด้วย สัญญาณไมโครเวฟเดินทางเป็นแนวเส้นตรง (Line-of-Sight Transmission) จึงเรียกว่าเป็นสัญญาณทิศทางเดียว (Unidirectional) การวางตำแหน่งและทิศทางของเสาอากาศจึงมีผลโดยตรงต่อคุณภาพสัญญาณที่รับเข้ามา นอกจากนี้พายุฝนและพายุหิมะจะเป็นตัวอุปสรรคโดยตรงต่อความชัดเจนของสัญญาณไมโครเวฟแบ่งออกเป็นสองชนิดคือ ชนิดตั้งบนพื้นดิน และชนิดดาวเทียม
            2.1 ไมโครเวฟชนิดตั้งบนพื้นดินไมโครเวฟชนิดตั้งบนพื้นดิน (Terrestrial Microwave) จะส่งสัญญาณ แลกเปลี่ยนกันระหว่างสถานีบนพื้นดิน (Earth Station) สองสถานี โดยปกติขนาดของจานรับ-ส่งสัญญาณ (Dish)จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ฟุตเนื่องจากคลื่นไมโครเวฟเดินทางเป็นเส้นตรง ดังนั้นสถานีบนพื้นดินจึงตั้งอยู่ใกล้กันในระยะประมาณ 40-48 กิโลเมตร และอาจไกลถึง 88 กิโลเมตรได้ในกรณีที่สถานีทั้งสองตั้งอยู่สูงจากพื้นดินมาก ๆ เช่น ตั้งอยู่บนยอดตึกสูง แต่ทั้งนี้จะต้องไม่มีวัตถุใด ๆ ขวางระหว่างสถานีทั้งสองถ้าสถานีตั้งอยู่ห่างจากกันมากเกินไปสัญญาณที่ส่งออกมาจะถูกส่วนโค้งของผิวโลกบังไว้ทำให้อีกสถานีหนึ่งไม่สามารถรับสัญญาณนั้นได้
รูปที่ 14 ไมโครเวฟชนิดตั้งบนพื้นดิน (Terrestrial Microwave)
         ในปัจจุบัน สื่อชนิดนี้ได้ถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางสำหรับการสื่อสารระยะทางไกล ซึ่งไม่สามารถติดตั้งสื่อชนิดสายทั่วไปได้ เช่น ในกรณีที่ต้องเดินสายสัญญาณข้ามถนนหรือข้ามพื้นที่ของผู้อื่น โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สะดวกที่จะใช้สายเส้นใยนำแสงหรือการสื่อสารดาวเทียม อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าและติดตั้งได้ง่ายกว่า และสามารถส่งข้อมูลได้คราวละมาก ๆ ด้วย อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไมโครเวฟชนิดตั้งบนพื้นดินเป็นที่นิยมคือราคาที่ถูกกว่า
             2.2 ไมโครเวฟดาวเทียมการส่งสัญญาณไมโครเวฟผ่านดาวเทียม (Satellite Microwave) ประกอบด้วยดาวเทียมหนึ่งดวงซึ่งจะต้องทำงานร่วมกับสถานีพื้นดินตั้งแต่สองสถานีขึ้นไป สถานีพื้นดินถูกนำมาใช้เพื่อการรับและส่งสัญญาณไปยังดาวเทียม ซึ่งดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ทวนสัญญาณและจะส่งสัญญาณกลับมายังพื้นผิวโลกในตำแหน่งที่สถานีพื้นดินแห่งที่สองตั้งอยู่ดาวเทียมส่วนใหญ่ถูกส่งขึ้นไปอยู่ที่ระยะสูงประมาณ 35,680 กิโลเมตรจากผิวโลก ตามแนวเส้นศูนย์สูตรซึ่งจะเป็นระยะที่เหมาะสม ทำให้ ดาวเทียมใช้เวลาโคจรรอบโลก 24 ชั่วโมงเท่ากับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองพอดี ดังนั้นจึงทำให้ดูเหมือนว่าดาวเทียมประเภทนี้ลอยนิ่งคงที่อยู่เสมอ ซึ่งเรียกว่า ดาวเทียมโคจรสถิตย์ (Geosynchronous Orbiting Satellites: GEOS)การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า"สัญญาณอัปลิงก์" (Up-link) และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า "สัญญาณดาวน์-ลิงก์ (Down-link)ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast) โดยสถานีดาวเทียม 1 ดวงสามารถมีเครื่องทบทวนสัญญาณดาวเทียมได้ถึง 25 เครื่อง และสามารถครอบคลุมพื้นที่การส่งสัญญาณได้ถึง 1 ใน 3 ของพื้นผิวโลก ดังนั้นถ้าจะส่งสัญญาณข้อมูลให้ได้รอบโลกสามารถทำได้โดยการส่งสัญญาณผ่านสถานีดาวเทียมเพียง 3 ดวงเท่านั้น
รูปที่ 15 การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม
         จำนวนดาวเทียม (Satellites) ในปัจจุบันมีมากจนอาจสร้างปัญหาในการใช้งาน เนื่องจากการใช้สัญญาณคลื่นที่มีความถี่ใกล้เคียงกันของดาวเทียมที่อยู่ใกล้กันจะรบกวนกันเองจนไม่สามารถใช้งานได้ เพื่อป้องกันปัญหานี้ ดาวเทียมประเภทวงโคจรสถิตย์จึงถูกกำหนดให้มีตำแหน่ง ห่างกัน 4องศา แม้ว่าดาวเทียมแต่ละดวงจะมีอายุการใช้งานที่จำกัดและค่อนข้างสั้น (ประมาณ 10 ปี) แต่เนื่องจากจำนวนดาวเทียมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้หลายประเทศทั่วโลกมีความกังวลว่าพื้นที่บนบรรยากาศจะเต็ม ทำให้ตนเองไม่สามารถมีดาวเทียมเป็นของตนเองได้
          การส่งสัญญาณข้อมูลทางดาวเทียมสามารถถูกรบกวนจากสัญญาณภาคพื้นอื่น ๆ ได้ อีกทั้ง
ยังมีเวลาประวิง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น-ลง ของสัญญาณ และที่
สำคัญคือ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง ทำให้ค่าบริการสูงตามขึ้นมาเช่นกัน
3 .อินฟราเรด (Infrared)แสงอินฟราเรดเป็นคลื่นความถี่สั้นที่มักนำไปใช้กับรีโมตคอนโทรลของวิทยุหรือโทรทัศน์เป็นแสงที่มีทิศทางในระดับสายตา ซึ่งไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุทึบแสงได้แสงอินฟราเรดมักมีการนำมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์มือถือ อุปกรณ์รอบข้างต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องแฟกซ์ และรวมถึงกล้องดิจิตอล อัตราความเร็วปกติในการรับส่งข้อมูลอยู่ระหว่าง 4 - 16 Mbps และปัจจุบันมีการบรรจุช่องสื่อสารอินฟราเรด (InfraredData Association : IrDA) เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งานสื่อสารแบบไร้สายด้วยอินฟราเรด เช่นเมาส์ คียบอร์ด หรือเครื่องพิมพ์ แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการสื่อสารไร้สายบนระยะห่างสั้นๆ นี้กำลังถูกเทคโนโลยีอย่างบลูธูท(Bluetooth) เข้ามาแทนที่

.....จบ....